ความสำคัญของการบรรยาย

ความสำคัญของการบรรยายเกี่ยวกับผลงานทางทัศนศิลป์

                       การบรรยายเป็นกระบวนการรับรู้ที่เกิดจากการมองเห็น สังเกตและบันทึกสิ่งที่พบเห็นในผลงาน ความเด่น และรายละเอียดอื่นๆ ที่อยู่ในผลงาน และดำเนินการบรรยาย อธิบายให้ผู้อื่นรับรู้ให้สังเกตรายละเอียด และทำความเข้าใจในผลงานอย่าง่ายๆ เพื่อให้รู้จักภาษาง่ายๆ ในการบรรยายตลอดจนรู้จักศัพท์ทางทัศนศิลป์ เนื่องจากการบรรยายเป็นขั้นตอนแรกของการรู้จัก การวิจารณ์ศิลปะและจะมีผลไปสู่ขั้นการวิเคราะห์ ขั้นตี และขั้นตัดสินประเมินคุณค่าของผลงานทางทัศนศิลป์

หลักของการบรรยายเกี่ยวกับผลงานทางทัศนศิลป์

                       การบรรยายผลงานทางทัศนศิลป์ มีจุดประสงค์เพื่อสื่อให้เห็นจุดประสงค์ของการสร้างสรรค์งานและเนื้อหาของงาน รวมถึงเพื่อให้เข้าใจถึงอารมณ์ความรู้สึกที่ศิลปินต้องการสื่อ จึงมีความจำเป็นต้องใช้ศัพท์ทางทัศนศิลป์ในการสื่อความหมาย

ตัวอย่างการบรรยายผลงานทัศนศิลป์โดยใช้ศัพท์ทางทัศนศิลป์

                แนวคิดในการสร้างงานของศิลปิน โดยมีความต้องการให้ศาลานี้เป็นตัวแทนของทวีป ทั้ง 4 ทิศ ทั้ง 8, พนัสบดี,ธาตุ 4 , อริยสัจ 4 และสุดท้าย คือ อริยมรรค การสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้นับว่า ทรงพลังมีสถาปัตยกรรมที่ดี เป็นกระแสวัฒนธรรมร่วมสมัย
ทัศนะของศิลปิน อาจารย์ถวัลย์  ดัชนี



โครงสร้างและความหมายของผลงาน

                  เป็นลักษณะเสา4ต้น ซึ่งเป็นตัวแทนของทวีปทั้ง4ที่ล้อมโลก อยู่ตามปกีรณัมโบราณของอินเดียโดยเสาทางทิศเหนือแทนอุดรทวีป ทิศใต้แทนอมรโคยานทวีป ทิศตะวันตกแทนชมพูทวีป ทิศตะวันออกแทนปุรพวิเพ ซึ่งเสา4ต้น อยู่บนอ่างศิลาดำ ซึ่งหมายถึงตัวแทนของโลก จักวาล ความคิดนี้เป็นแรงบันดาลใจมาจากภาพโบราณที่มีสันเขาพระสุเมรุอยู่ ศาลานั้นแบ่งเป็น3ชั้น ชั้นที่3 แบ่งย่อยออกเป็น2ชั้น รวมเป็น4ชั้น แทนความหมายมหาสติปัตฐาน4 คือ กายานุปฏิปทา เวทนานุปฏิปทา จิตตานุปฏิปทา และธรรมานุปฏิปทา ซึ่งเป็นธรรมที่นำไปสู่อริยมรรค หรือความหลุดพ้นทางพระพุทธศาสนา สำหรับช่อฟ้ากาแล แทนธาตุทั้ง4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่บริเวณปลายยอดของศาลาจะมีบราลี 8 อัน เปรีบยได้กับอริยมรรค (มรรคมีองค์8) ซึ่งเป็นสุดยอดของการของการนำไปสู่การหลุดพ้น ลักษณะศาลาเปลือยเพื่อต้องการให้มองเห็นได้จากทุกทิศ และส่วนประกอบที่พิเศษมากอีกชิ้นหนึ่ง คือ หางหงส์ที่ศาลาที่1 เพราะว่าเป็นศุนย์รวมของความคิดในการสร้างศาลาร่วมสมัย นั่นคือ พนัสบดี ซึ่งเป็นตรีมูรติของพระศิวะ (ทรงโค)  พระพรหม (ทรงสิงห์) และพระนารายณ์ (ทรงครุฑ) โดยเป็นวัวมีเขาปกติ แต่มีปีกเป็นหงส์และมีปากเป็นครุฑ

ลักษณะที่สำคัญ

               ลายนกทั้งหมดจะเป็นลายคมกริช ซึ่งมีเฉพาะที่อยุธยาเท่านั้น ปัจจุบันยังคงเหลืออยู่ที่วัดหน้าพระสุเมรุ(สมัยพระนเรศวร) อีกประการหนึ่งคือเป็นศิลปกรรมร่วมสมัยตั้งแต่เชียงแสนถึงรัตนโกสินทร์โดยแต่ละสมัยจะมีตัวแทนแตกต่างกันออกไป ได้แก่ ล้านนา-กาแล  อยุธยา-คมกริช  สุโขทัย-บราลีคันทวย

                    ความรู้เพิ่มเติม  อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์(จิตรกรรม) เมื่อปี พ.ศ.2544 เกิดที่จังหวัดเชียงราย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น